บทความ

ประวัติสุนทร(ภู่)2

รูปภาพ
ปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น   นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ   เพลงยาวถวายโอวาท   กาพย์พระไชยสุริยา   และ   พระอภัยมณี   เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง   พระอภัยมณี   ได้รับยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น   กาพย์พระไชยสุริยา   นิราศพระบาท   และอีกหลาย ๆ เรื่อง ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การ ยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้าง อนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ตำบลกร่ำ   อำเภอแกลง   จังหวัดระยอง   บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ  ...

ทัศนคติ

ทัศนคติ ตำราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวันเกิดของสุนทรภู่ไว้เป็น ดวงประเทียบ  พร้อมคำอธิบายข้างใต้ดวงชะตาว่า "สุนทรภู่ อาลักษณ์ขี้เมา" [12]  เหตุนี้จึงเป็นที่กล่าวขานกันเสมอมาว่า สุนทรภู่นี้ขี้เหล้านัก ในงานเขียนของสุนทรภู่เองก็ปรากฏบรรยายถึงความมึนเมาอยู่หลายครั้ง แม้จะดูเหมือนว่า สุนทรภู่เองก็รู้ว่าการมึนเมาสุราเป็นสิ่งไม่ดี ได้เขียนตักเตือนผู้อ่านอยู่ในงานเขียนเสมอ [18]  การดื่มสุราของสุนทรภู่อาจเป็นการดื่มเพื่อสังสรรค์และเพื่อสร้างอารมณ์ศิลปิน ด้วยปรากฏว่าเรือนสุนทรภู่มักเป็นที่ครึกครื้นรื่นเริงกับหมู่เพื่อนฝูงอยู่เสมอ [6]  นอกจากนี้ยังเล่ากันว่า เวลาที่สุนทรภู่กรึ่ม ๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนให้เสมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน [12]  เมื่อออกบวช สุนทรภู่เห็นจะต้องพยายามเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถทำได้ดี ขณะที่รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มองว่า เรื่องที่ว่าสุนทรภู่ขี้เมานั้นไม่มีการบันทึกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทั้งสุนทรภู่มีผลงานเขียนอยู่มาก หากเป็นคนลุ่มหลงในสุราคงไม่มีเวลาไปเขียนหนังสือเป็นแน่ [1] สุนทรภู่มักเปรียบการเมาเหล้ากับการเมารัก ชีวิตรักของสุนทรภู...

ประวัติสุนทร(ภู่)

รูปภาพ
    พระสุนทรโวหาร   นามเดิม   ภู่   หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า   สุนทรภู่  (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น   เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย [2]   เกิดหลังจากตั้ง กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   โดยเป็นอาลักษณ์ใน สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์   ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอน นิราศ ขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึง

อุปนิสัย

อุปนิสัย ตำราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวันเกิดของสุนทรภู่ไว้เป็น ดวงประเทียบ   พร้อมคำอธิบายข้างใต้ดวงชะตาว่า "สุนทรภู่ อาลักษณ์ขี้เมา" [12]   เหตุนี้จึงเป็นที่กล่าวขานกันเสมอมาว่า สุนทรภู่นี้ขี้เหล้านัก ในงานเขียนของสุนทรภู่เองก็ปรากฏบรรยายถึงความมึนเมาอยู่หลายครั้ง แม้จะดูเหมือนว่า สุนทรภู่เองก็รู้ว่าการมึนเมาสุราเป็นสิ่งไม่ดี ได้เขียนตักเตือนผู้อ่านอยู่ในงานเขียนเสมอ [18]   การดื่มสุราของสุนทรภู่อาจเป็นการดื่มเพื่อสังสรรค์และเพื่อสร้างอารมณ์ศิลปิน ด้วยปรากฏว่าเรือนสุนทรภู่มักเป็นที่ครึกครื้นรื่นเริงกับหมู่เพื่อนฝูงอยู่เสมอ [6]   นอกจากนี้ยังเล่ากันว่า เวลาที่สุนทรภู่กรึ่ม ๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนให้เสมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน [12]   เมื่อออกบวช สุนทรภู่เห็นจะต้องพยายามเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถทำได้ดี ขณะที่รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มองว่า เรื่องที่ว่าสุนทรภู่ขี้เมานั้นไม่มีการบันทึกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทั้งสุนทรภู่มีผลงานเขียนอยู่มาก หากเป็นคนลุ่มหลงในสุราคงไม่มีเวลาไปเขียนหนังสือเป็นแน่ [1] สุนทรภู่มักเปรียบการเมาเหล้ากับการเมารัก ชีวิตรักของ...

ทายาท

ทายาท สุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลั่น และพ่อชุบ พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เมื่อครั้งสุนทรภู่ออกบวช พ่อพัดก็ออกบวชด้วย [16]   เมื่อสุนทรภู่ได้มารับราชการกับเจ้าฟ้าน้อย พ่อพัดก็มาพำนักอยู่ด้วยเช่นกัน [15]   ส่วนพ่อตาบนั้นปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร [12]   เมื่อถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า   ภู่เรือหงส์  ( บางสายสกุลอาจเป็น ภู่ระหงษ์) [ ต้องการอ้างอิง ]   เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่นี้   ก.ศ.ร. กุหลาบ   เคยเขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบำเหน็จจาก หมอสมิท เป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง   พระอภัยมณี [6] [17]   แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่ามักเขียนเรื่องกุ เรื่องนามสกุลของสุนทรภ...

ช่วงปลายของชีวิต

ช่วงปลายของชีวิต ปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ที่มี กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงอุปถัมภ์ [1]   คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง   รำพันพิลาป   พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์   รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง   เสภาพระราชพงศาวดาร   บทเห่กล่อมพระบรรทม   และบทละครเรื่อง   อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง   พระอภัยมณี   ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพร...

สุนทรภู่ออกบวช

รูปภาพ
ออกบวช      กุฏิ วัดเทพธิดาราม ที่สุนทรภู่บวช จำพรรษา   เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น   พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคา กุฏิ ของท่าน สุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออกบวชหรือไม่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แม้จะไม่ปรากฏโดยตรงว่าสุนทรภู่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากราชสำนักใหม่ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   แต่ก็ได้รับพระอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นอยู่เสมอ เช่น ปี พ.ศ. 2372 สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษร เจ้าฟ้ากลาง และ เจ้าฟ้าปิ๋ว   พระโอรสใน เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี   ปรากฏความอยู่ใน   เพลงยาวถวายโอวาท   นอกจากนั้นยังได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ   และ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ   ซึ่งปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่บางเรื่องว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง   พระอภัยมณี   และ   สิงหไตรภพ   ถวาย สุนทรภู่บวชอยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้น...